วันพุธที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2553

เกี่ยวกับตัวเรา

ชื่อ  นางสาว  นิภาพร  เลาเทาะ

เนื้อแดดเดียว

เครื่องปรุง

เนื้อวัว 500 กรัม
กระเทียม 1 หัว
ผงกะหรี่ 1 ช้อนชา
พริกไทยป่น ½ ช้อนชา
น้ำมันหอย 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
รากผักชี 3 ราก
น้ำตาลทราย 1 ช้อนโต๊ะ
เหล้าขาว 2 ช้อนโต๊ะ
ซอสพริก 3 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. ล้างเนื้อให้สะอาด แล่ออกเป็นแผ่นหนา ประมาณ 1 ซ.ม.

2. โขลกกระเทียม รากผักชี พริกไทยให้ละเอียด เคล้ากับเนื้อให้เข้ากัน เติมน้ำปลา เหล้าขาว น้ำมันหอย น้ำตาลทราย ผงกะหรี่ หมักประมาณ
1 ช.ม. แล้วตากแดด 1 วัน

3. ทอดเนื้อ ในน้ำมันร้อน พอสุกตักให้สะเด็ดน้ำมัน รับประทานกับซอสพริก

เนื้อน้ำตก

เครื่องปรุง
เนื้อติดมัน 200 กรัม
ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
พริกป่น ½ช้อนชา
หอมแดงซอย 1 ช้อนโต๊ะ
ใบสะระแหน่ ½ ถ้วย
น้ำมะนาว 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนชา
ซีอิ้วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
ผักสด ผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี



วิธีทำ
1. ล้างเนื้อ แล่หนาประมาณ 1 เซนติเมตร เคล้ากับซีอิ้วขาว หมักไว้ประมาณ 1 ชั่วโมง

2. ย่างเนื้อบนเตาถ่านใช้ไฟแรง เนื้อจะสุกด้านนอก พลิกไปมาทั้ง 2 ข้าง พอน้ำตกส่งกลิ่นหอม ยกลง

3. หั่นเนื้อแฉลบ เป็นชิ้นพอคำ เคล้ากับน้ำปลา น้ำมะนาว ใส่พริกป่น ข้าวคั่ว หอมแดง โรยใบสะระแหน่ รับประทานกับผักบุ้ง ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี

เนื้อทุบ

เครื่องปรุง


เนื้อลูกฟัก 1 กิโลกรัม
เกลือ 1 ช้อนโต๊ะ
พริกไทยป่น 1 ช้อนชา
น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนชา
น้ำปลา 1 ช้อนชา










วิธีทำ

1. แล่เนื้อออกตามยาว หมักกับเกลือ น้ำปลา พริกไทยป่น น้ำตาลปี๊บ หมักทิ้งไว้ประมาณครึ่งวัน ตากแดด 1 วัน
2. นำเนื้อไปย่างจนสุก แล้วทุบเนื้อให้แตกยุ่ยจากกัน

อ่อมปลาดุก

เครื่องปรุง

ปลาดุกอุยหนักประมาณ 300 กรัม 1 ตัว
น้ำปลาร้า ½ ถ้วย
ผักชีลาว 3 ต้น
ต้นหอม 2 ต้น
มะเขือพวง ½ ถ้วย
มะเขือเปราะ 5 ลูก
ใบแมงลัก ½ ถ้วย
ใบชะพลู 10 ใบ
ข้าวเหนียวดิบแช่ให้นิ่ม 2 ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูสด 15 เม็ด
ตะไคร้ 1 ต้น
หอมแดง 4 หัว
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. ล้างปลาดุกให้สะอาดหั่นเป็นชิ้น

2. เอาน้ำ 2 ถ้วย ตั้งไฟจนเดือด ใส่ปลาลงต้ม เติมน้ำปลาร้า

3. โขลกหอมแดง พริกสด และข้าวเหนียวที่แช่น้ำให้ละเอียด ตักใส่หม้อต้มปลา ปรุงรสด้วยน้ำปลา

4. เมื่อปลาสุก ใส่มะเขือเปราะผ่าซีก ตะไคร้หั่นท่อนสั้น มะเขือพวง ใบชะพลู ใบแมงลัก ต้นหอมหั่น ปิดไฟ ยกลง รับประทานกับผักชีลาว

ข้าวยำ

เครื่องปรุง
ข้าวสวย กุ้งแห้งป่น อย่างละ 1 ถ้วย
มะพร้าวขูดคั่ว 1 ถ้วย
ตะไคร้ซอย 3 ต้น
ถั่วฝักยาวหั่นฝอย 1 ถ้วย
ถั่วงอกเด็ดหาง 1 ถ้วย
มะนาวผ่าซีก 1 ลูก
ใบมะกรูดอ่อนซอย 1/2 ถ้วย
พริกขี้หนูแห้งคั่วป่น 1/4 ถ้วย
ส้มโอแกะเนื้อ 1 ถ้วย




น้ำบูดู

น้ำบูดู 1/2 ถ้วย
ปลาอินทรีเค็ม 1 ชิ้น
หอมแดงบุบพอแตก 4 หัว
ข่ายาว 1 นิ้ว ทุบพอแตก 1 ชิ้น
ตะไคร้หั่นท่อนสั้น 3 ต้น
ใบมะกรูดฉีก 3 ใบ
น้ำตาลปี๊ป 1 ถ้วย
น้ำ 1 1/2 ถ้วย


วิธีทำ

1. ทำน้ำบูดูโดยใส่เครื่องปรุงทั้งหมดลงในหม้อเคลือบ ยกขึ้นตั้งไฟกลางค่อนข้างอ่อน เคี่ยวจนมีลักษณะข้น ยกลงกรองเอาแต่น้ำบูดู

2. เวลารับประทาน จัดข้าวสวยใส่จาน ใส่มะพร้าวคั่ว กุ้งแห้ง ส้มโอ พริกป่น และผักทั้งหมด อย่างละเล็กละน้อย เคล้าอีกครั้ง รับประทานทันที

แกงเหลือง

เครื่องปรุง

ปลาทูสด หรือปลาช่อนก็ได้ 1 ก.ก.
มะนาว 1 ลูก
กะปิเผา 1 ช้อนโต๊ะ
ขมิ้นผง(แบบซอง) 2 ช้อนชา
พริกขี้หนูแห้ง 25-40 เม็ด ตามชอบ
กระเทียมปลอกแล้ว 3 หัว
หน่อไม้เปรี้ยว 1/2 ก.ก.
น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะขามเปียก 1/2 ถ้วย


วิธีทำ

1. ตำพริกขี้หนูแห้ง , กะปิ , ขมิ้น , กระเทียม เข้าด้วยกัน

2. ตักใส่หม้อต้มน้ำที่กำลังต้มน้ำไว้แล้ว 5-6 ถ้วย

3. ตัดปลาเป็นชิ้นพอเหมาะ

4. เมื่อน้ำเดือด ใส่ปลาลงไป

5. ถ้าน้ำยังไม่เดือดห้ามคน จะทำให้คาว

6. เมื่อปลาสุกได้ที่ ใส่ผักลงไป

7. ใส่น้ำมะขามเปียก และน้ำมะนาว

แกงไตปลา

เครื่องปรุง

1. กะปิ

2. ปลาย่าง

3. พุงปลาที่หมักได้ที่แล้ว

4. น้ำ เกลือ น้ำตาล ใบมะกรูด มะนาว

5. ผักสด เช่น มัน ฟักทอง มะเขือเทศต่างๆ หน่อไม้

6. เครื่องแกงมีพริกแห้ง หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า พริกไทย ขมิ้น นำมาโขลกให้ละเอียด


วิธีทำ

นำพุงปลามาทำให้สะอาดโดยเอาขี้ปลาออกให้หมด

นำพุงปลาที่สะอาดแล้วมาซาวด้วยเกลือพอประมาณ

นำพุงปลาซาวเกลือใส่ขวดแก้วหรือใส่กระปุก ปิดฝาให้มิดชิดทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์

เปิดออกดูจะได้กลิ่นหอมเปรี้ยว นำไปแกงได้ชนิดของพุงปลา

* พุงปลาช่อนนำมาทำเป็นไตปลา ให้รสชาติหอมมันอร่อยมากที่สุด พุงปลากระดี่
ภาษาพื้นบ้านเรียกว่า ขี้ดี ให้รสชาติขมหอมอร่อยมาก พุงปลาโดยทั่วไปจะทำจาก
ปลาทูหรือปลารัง *


วิธีปรุง

นำพุงปลาตั้งไฟให้เดือด เทกรองเอาเฉพาะน้ำ เติมน้ำตามสมควรตั้งไฟให้เดือด

ใส่เครื่องแกง เดือดได้ที่เติมเครื่องปรุง น้ำตาล น้ำมะนาว กะปิ

ใส่ปลาย่าง ผักสด

ผัดสะตอใส่กะปิ

เครื่องปรุง
สะตอนำมาแกะเอาเม็ด 1 ถ้วย
หมูสามชั้นหั่นเป็นชิ้นๆ  15 ชิ้น
กะปิอย่างดี  1-2 ช้อน
พริกชี้ฟ้าหั่นยาวๆ 3-4 หัว ะ
กระเทียมปอก  7-8 กลีบ
น้ำตาล  1-2 ช้อน
น้ำมะนาว 1-2 ช้อน
น้ำปลา และน้ำมันพืช 






วิธีทำ

นำหอม กระเทียมมาโขลกรวมกันกับกะปิให้ ละเอียด ตักมาพักไว้ก่อน

 กระทะตั้งไฟใส่น้ำมันพืชลงไปพอสมควร

ใส่หอมกระเทียมและกะปิที่โขลกลงไปผัดในกระทะให้หอม แล้วจึงใส่หมูที่หั่นแล้วลงไปผัดให้เข้ากัน

แล้วใส่เม็ดสะตอที่แกะเตรียมเอาไว ผัดรวม กันในกระทะ

ใส่น้ำปลา น้ำตาล และ น้ำมะนาว ปรุงรส และผัดให้พอสะตอสุก

ก่อนยกลง ให้ใส่พริกชี้ฟ้าหั่นยาวลงไปและ ตักไปรับประทานได้

วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

ยำถั่วภู

เครื่องปรุง


ถั่วพู 30 ฝัก
เนื้อหมูสันใน (ดิบ) หรือ เนื้อหมูต้มฉีก 1 ถ้วยตวง
กุ้งแชบ๊วย (ดิบ) หรือ กุ้งแชบ๊วย (ผ่าซีก) 15 ตัว
หัวกะทิเคี่ยว 1/3 ถ้วยตวง + 1 ช้อนโต๊ะ
น้ำกะทิคั้น 1/2 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูด 2 1/2 ถ้วยตวง
น้ำ 1/4 ถ้วยตวง
มะพร้าวขูด คั่ว 3 1/3 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงเจียว 4 ช้อนโต๊ะ
หอมแดงซอย 1/3 ถ้วยตวง + 2 ช้อนชา
น้ำมันพืช (ถั่วเหลือง) 1 1/2 ช้อนโต๊ะ
ถั่วลิสงคั่วโขลกหยาบๆ 3 ช้อนโต๊ะ
พริกแห้งแกะเม็ด 4 เม็ด
หัวหอมแดง 4 1/2 หัว
กระเทียม 4 1/2 หัว
น้ำมะนาว 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำตาลทราย 3 ช้อนโต๊ะ


วิธีทำ

1. คั้นมะพร้าว ด้วยน้ำต้มสุก (อุ่น) เพื่อให้ได้กะทิที่เข้มข้น นำหัวกะทิไปตั้งไฟอ่อน เคี่ยว 2 นาที คนอย่าให้เป็นก้อน แล้วนำกะทิที่เคี่ยวแล้ว แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนที่ 1 (ประมาณ 1/4 ถ้วยตวง) ใช้สำหรับผสมน้ำยำ ส่วนที่ 2 (1 1/2 ช้อนโต๊ะ) ใช้สำหรับตักราดหน้า

2. เนื้อหมูสันใน นำไปต้ม 15 นาที นำมาฉีกเป็นเส้นๆ

3. นำน้ำที่ต้มหมูไปต้มกุ้งแชบ๊วย (ใช้เวลา 3 นาที จากน้ำเดือด) แกะเอาแต่เนื้อส่วนที่กินได้ ผ่าซีกกลางตัว เพื่อเอาขี้กลางหลังออก

4. ล้างถั่วพูให้สะอาดตัดหัวตัดท้ายซอยเฉียงยาวๆ หนาประมาณ 1 มิลลิเมตร ลวกในน้ำเดือดประมาณ 3 นาที ตักขึ้นแช่ในน้ำธรรมดา เพื่อให้ผักสีสวยไม่คล้ำรีบนำขึ้นพักให้สะเด็ดน้ำ

5. นำส่วนผสมน้ำยำคือพริกแห้งแกะเม็ดออกคั่ว โขลกละเอียด ตามด้วยหอมแดงกระเทียมเผา โขลกละเอียดใส่ภาชนะผสมรวมกัน ใส่หัวกะทิ ปรุงรสด้วยน้ำปลา น้ำตาลทราย น้ำมะนาว คนให้ละลายเข้ากัน

6. ผสมถั่วพู เนื้อหมู ฉีกเป็นเส้น กุ้งผ่าซีก ปรุงด้วยน้ำยำผสมให้เข้ากันเคล้าเบาๆ เพื่อไม่ให้ถั่วพูช้ำ เนื้อหมูและกุ้ง ไม่เละ ใส่ถั่วลิสงคั่ว มะพร้าวคั่ว คลุกให้เข้ากัน

7. ตักใส่จานที่รองด้วยผักกาดหอม เพื่อให้ดูน่ารับประทาน ราดหน้าด้วยหัวกะทิเคี่ยวแล้วโรยด้วยหอมเจียว

ยำวุ้นเส้น


เครื่องปรุง

วุ้นเส้นอย่างดี 300 กรัม
กุ้งสดลวก 200 กรัม
น้ำปลาอย่างดี 2/3 ถ้วยตวง
ขึ้นฉ่ายตัดเป็นท่อน 100 กรัม
น้ำมะนาว 1/2 ถ้วยตวง
กุ้งแห้งทอด 100 กรัม
น้ำตาลทราย ช้อนโต๊ะ
พริกขี้หนูโขลก 20 กรัม
เนื้อหมูสับ 300 กรัม
หัวหอมซอย 150 กรัม
มะเขือเทศ 200 กรัม
ผักกาดหอม 100 กรัม


วิธีทำ

1. สับเนื้อหมูนึ่งให้สุก กุ้งแกะเปลือกลวกน้ำร้อน

2. แช่วุ้นเส้นในน้ำให้นุ่มตัดสั้น ๆ ลวกน้ำร้อน แช่น้ำเย็นพอคลายร้อนตักขึ้น ปอกหอมซอยบาง ๆ
ขึ้นฉ่ายล้างตัดท่อนสั้น ๆ มะเขือเทศล้างหั่นเป็นเสี้ยวเล็ก ๆ ล้างผักกาดหอมผึ่งให้สะเด็ดน้ำ
เด็ดเป็นใบ จัดใส่จานเตรียมไว้

3. นำวุ้นเส้น หมู กุ้ง หอมซอย ขึ้นฉ่าย มะเขือเทศ เคล้ารวมกัน ใส่น้ำปลา น้ำส้ม น้ำมะนาว
แกงส้มผักรวม น้ำตาล เคล้าให้เข้ากัน จัดใส่จานวางผักไว้ โรยหน้าด้วยกุ้งแห้งทอด และผักชี
ให้สวยงาม

ต้มยำกุ้ง

เครื่องปรุง
กุ้งก้ามกราม (ดิบ) 12 ตัว
เห็ดฟาง (ผ่าครึ่ง) 40 ลูก (80 ชิ้น)
ข่าอ่อน (หั่นแว่นบางๆ) 2 ช้อนโต๊ะ (19 ชิ้น)
ใบมะกรูดอ่อนฉีก 4 ใบ
ตะไคร้ (หั่นเป็นท่อน) 9 ท่อน
พริกขี้หนูสด (บุบพอแตก) 25 เม็ด
ผักชี (หั่น) 1/3 ถ้วยตวง
น้ำต้มซี่โครงไก่ 3 1/2 ถ้วยตวง
น้ำปลา 4 3/4 ช้อนโต๊ะ
น้ำมะนาว 5 ช้อนโต๊ะ




วิธีทำ

1. ล้างกุ้งและแกะเปลือกให้สะอาด พักไว้


2. เห็ดฟางเกลาดินออกให้หมด ล้างน้ำผ่ากลาง


3. ใส่น้ำต้มซี่โครงไก่ลงในหม้อตั้งไฟปานกลางพอเดือด (ใช้เวลา 5 นาที) ใส่ตะไคร้ ข่า กุ้ง พอกุ้งสุก
(ใช้เวลาจากน้ำเดือด 4 นาที) ใส่เห็ดฟาง ใบมะกรูด น้ำปลา (ใช้เวลา 2 นาที) ปิดไฟยกลงจากเตา


4. ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว พริกขี้หนูบุบพอแตกหยาบๆ


5. โรยด้วยผักชีหั่น รับประทานขณะร้อนๆ

น้ำพริกอ่อง

เครื่องปรุง
พริกแห้งเม็ดใหญ่แกะเมล็ดออกแช่น้ำ 5 เม็ด
เนื้อหมูติดมันบด 3 ช้อนโต๊ะ
มะเขือส้ม 1 ถ้วย
ผักชีเด็ดเป็นใบ 1 ต้น
หอมแดงซอย 3 ช้อนโต๊ะ
กระเทียมซอย 5 กลีบ
กระเทียมสับ 3 กลีบ
ตะไคร้ซอย 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือป่น 1 ช้อนชา
ถั่วเน่าชนิดแผ่นปิ้งไฟให้หอม 1 แผ่น
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ





ผักสด เช่น แตงกวา ถั่วฝักยาว กระถิน ถั่วพู ผักต้ม เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือ ผักบุ้ง หัวปลี ยอดแค ฟักทอง



วิธีทำ

1. โขลกพริกแห้ง ตะไคร้ เกลือเข้าด้วยกันให้ละเอียด ใส่หอมแดง กระเทียมซอยและถั่วเน่า โขลกต่อให้
เข้ากัน ใส่หมูบดโขลกให้เข้ากัน ใส่มะเขือส้มโขลกเบา ๆ ให้เข้ากัน
2. ใส่น้ำมันลงในกระทะ ตั้งไฟกลาง ใส่กระเทียมสับ เจียวให้หอม ใส่พริกที่โขลกลงผัดให้หอม ลดไฟให้อ่อน ผัดพอแห้งน้ำขลุกขลิก

3. ตักใส่ถ้วย โรยใบผักชี รับประทานกับผักสดและผักต้ม

ไส้อั่ว

เครื่องปรุง
หมูสันคอ บดละเอียด 1 กิโลกรัม
ไส้หมู (ไส้เล็ก ล้างสะอาด) 1/3 กิโลกรัม
เครื่องแกง
พริกแห้ง 5 เม็ด
รากผักชี 2 ช้อนโต๊ะ
ผิวมะกรูด หั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ใบมะกรูด หั่นฝอย 2 ช้อนโต๊ะ
ตะไคร้ หั่นฝอย 3 ช้อนโต๊ะ
หอมแดง 5 หัว
กระเทียม 2 หัว
กะปิ 2 ช้อนชา
เกลือ 1 ช้อนชา


วิธีทำ

1. โขลกเครื่องแกงทั้งหมดให้ละเอียด

2. ผสมเนื้อหมูที่บดไว้ กับเครื่องแกงให้เข้ากัน ใส่ใบมะกรูดเคล้าให้ทั่ว

3. บรรจุใส่ในไส้ อย่าให้แน่นนัก มัดเป็นท่อนๆ

4. นำไปทอดหรือปิ้งให้สุก

* อาจนำหมูที่ผสมแล้ว ปั้นเป็นก้อนแล้วทอด โดยไม่บรรจุในไส้ก็ได้ *

ขนมจีนน้ำเงี้ยว

เครื่องปรุง
ซี่โครงหมู ตัดเป็นชิ้น 1x1 นิ้ว (ต้มให้นุ่ม) ½ กิโลกรัม
เลือดหมู หั่นสี่เหลี่ยม½ x½ นิ้ว ½ กิโลกรัม
มะเขือเทศลูกเล็ก ผ่าครึ่ง ½ กิโลกรัม
เกลือ 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำซุป (น้ำต้มกระดูกหมู กรองเอาเฉพาะน้ำ) 6 ถ้วย






เครื่องแกง
พริกแห้ง 7 เม็ด
รากผักชีหั่นฝอย 1 ช้อนชา
ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ข่าหั่นละเอียด 1 ช้อนชา
ตะไคร้ซอย 2 ช้อนชา
กะปิ 2 ช้อนชา
หอมแดง 7 หัว
กระเทียม 3 หัว


วิธีทำ

1. โขลกเครื่องแกงให้ละเอียด นำลงผัดในน้ำมันพืช พอหอม ใส่หมูสับ

2. เทลงในหม้อน้ำต้มกระดูกหมู ใส่ซี่โครงหมู แล้วใส่เลือดหมู และมะเขือเทศ

3. ปรุงรสด้วยเกลือ พอเดือดอีกครั้ง ยกลง เสร็จขั้นตอนทำน้ำเงี้ยว

4. จัดขนมจีนใส่จานพร้อมเครื่องเคียง ราดด้วยน้ำเงี้ยวที่ทำไว้


* รับประทานกับแคบหมู ผักกาดดอง ถั่วงอก ต้นหอม ผักชี พริกทอด กระเทียมเจียว *

แกงโฮะ

เครื่องปรุง
แกงเผ็ด 2 ถ้วย
แกงฮังเล 2 ถ้วย
แหนมหม้อ ยีให้กระจาย 2 ถ้วย
แคบหมู ตัดเป็นชิ้นเล็กๆ 2 ถ้วย
วุ้นเส้นตัดสั้น 2 ถ้วย
ใบมะกรูดฉีก ½ ถ้วย
ตำลึง 2 ถ้วย
ตะไคร้หั่นฝอย 1 ถ้วย
พริกขี้หนูสด 3 ช้อนโต๊ะ
น้ำมันพืช ½ ถ้วย




วิธีทำ

1. กะทะตั้งไฟ ใส่น้ำมันพอร้อน

2. ใส่กระเทียมสับเจียวให้หอม

3. ใส่เครื่องทั้งหมดลงผัดจนน้ำมันแห้ง

4. ใส่วุ้นเส้น

5. ปรุงรสด้วยมะนาว น้ำปลา ตามชอบ

แกงฮังเล

เครื่องปรุง
เนื้อหมูสันนอก 1 กิโลกรัม
หมูสามชั้น 500 กรัม
น้ำพริกแกงเผ็ด 11/2 ขีด
เกลือป่น และซีอิ๊วดำ อย่างละ 1 ช้อนชา
ซีอิ๊วขาว 2 ช้อนโต๊ะ
น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
ขิงซอย หัวหอม กระเทียม อย่างละ 1 ขีด
กระท้อนเปรี้ยวสับ 1 ถ้วย
น้ำตาลอ้อย 5 ช้อนโต๊ะ
มะขามเปียก 1 ถ้วย
น้ำซุป 4 ถ้วย


วิธีทำ

1. หั่นหมูทั้งสองอย่างเป็นชิ้นสี่เหลี่ยม 2x2 นิ้ว คลุกด้วยพริกแกงเผ็ด ผงฮังเล ซีอิ๊วดำ ซีอิ๊วขาว น้ำปลา
และเกลือ หมักไว้ประมาณ 4 ชั่วโมง
2. นำหมูที่หมักไว้ใส่หม้อตั้งไฟร้อนปานกลาง คนตลอดเวลา 30 นาที

3. ใส่กระท้อนสับ คนต่อไปอีกประมาณ 5 นาที

4. น้ำตาลอ้อย คนต่อไปอีกประมาณ 5 นาที

5. ใส่มะขามเปียก คนต่อไปอีกประมาณ 5 นาที

6. ใส่ขิงซอย หัวหอม กระเทียม คนให้เข้ากัน

7. ใส่น้ำซุป 3 - 4 ถ้วย คนให้เข้ากัน ตั้งไฟอ่อน 1 ชั่วโมง จนเปื่อยได้ที่ ชิมดู อาจเติมน้ำปลาเพิ่มเติม

อาหารภาคกลาง



ภาคกลาง....เป็นภาคที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำธารหลายสายไหลผ่าน ข้าวปลาอาหาร จึงอุดมสมบูรณ์เกือบตลอดปี รวมทั้งมีพืช ผัก ผลไม้ นานาชนิด นอกจากนี้ภาคกลางยังเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงมานับหลาย ร้อยปี ตั้งแต่สมัยอยุธยา เรื่อยมาจนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ในปัจจุบัน จึงเป็นศูนย์รวมของวัฒนธรรม ประเพณีที่สืบทอดต่อ ๆ กันมา ทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้าขาย และติดต่อกับต่างประเทศ มีแขกบ้านแขกเมือง ไปมาหาสู่อยู่ตลอดเวลาและที่สำคัญที่สุดเป็นที่ประทับของในหลวงในรัชกาลต่าง ๆ มีเจ้านายหลายพระองค์รวมทั้งแวดลงชาววัง ซึ่งต่างก็มีส่วนสำคัญในการสร้างสรรค์อาหารที่เป็นแบบฉบับของคนภาคกลาง


ลักษณะอาหารภาคกลางมีที่มาต่าง ๆ กัน ดังนี้

ได้รับอิทธิพลจากต่างประเทศ เช่น เครื่องแกง แกงกะทิ จะมาจากชาวฮินดู การผัดโดยใช้กระทะและน้ำมันมาจากประเทศจีนหรือขนมเบื้องไทย ดัดแปลงมาจาก ขนมเบื้องญวน ขนมหวานประเภททองหยิบ ทองหยอดรับอิทธิพลจากประเทศทางตะวันตก เป็นต้น

เป็นอาหารที่มักมีการประดิษฐ์ ทั้งนี้เพราะบรรดาคุณท่านท้าวเธอที่อยู่ในรั้วในวังมีเวลาว่างมากมาย จึงใช้เวลาในการคิดสร้างสรรค์อาหารให้เลิศรส วิจิตรบรรจง เช่น ขนมช่อม่วง จ่ามงกุฎ หรุ่ม ลูกชุบกระเช้าสีดา ทองหยิบ หรืออาหารประเภทข้าวแช่ ผัก ผลไม้แกะสลัก

เป็นอาหารที่มักจะมีเครื่องเคียง ของแนม เช่น น้ำพริกลงเรือ ต้องแนมด้วยหมูหวาน แกงกะทิก็มักจะแนมด้วยปลาเค็ม สะเดา น้ำปลาหวานก็ต้องคู่กับกุ้งนึ่งหรือปลาดุกย่าง ปลาสลิดทอดรับประทานกับน้ำพริกมะม่วง หรือแม้กระทั่งไข่เค็มที่มักจะรับประทานกับน้ำพริกลงเรือ น้ำพริกมะขามสด หรือน้ำพริกมะม่วง นอกจากนี้ยังมีของแนมอีกมากมายเช่นพวกผักดอง ขิงดอง หอมแดงดอง เป็นต้น

เป็นภาคที่มีอาหารว่าง และขนมหวานมากมาย เช่น ข้าวเกรียบปากหม้อ กระทงทอง ค้างคาวเผือก ปั้นขลิบนึ่ง ไส้กรอกปลาแนม ข้าวตังหน้าตั้ง ขนมหวานหลากหลายที่ทำจากไข่ , แป้งชนิดต่าง ๆ เช่น แป้งข้าวเหนียว แป้งสาลี แป้งมัน หรือแป้งหลายชนิดรวมกัน เช่น ขนมชั้น ขนมสอดไส้ ขนมเปียกปูน ขนมกง ขนมมุก ขนมลืมกลืน ขนมเต่า เป็นต้น




จากความหลากหลายของอาหารภาคกลางนี้เอง จึงทำให้รสชาติของอาหารภาคนี้ไม่เน้นไปทางรสใดรสหนึ่งโดยเฉพาะ คือมีรส เค็ม เผ็ด เปรี้ยว หวาน คลุกเคล้าไปตามชนิดต่าง ๆ ของอาหาร นอกจากนี้มัจะใช้เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรส เช่นพวกเครื่องเทศต่าง ๆ ใช้กะทิเป็นส่วนประกอบของอาหารมากชนิด

อาหารภาคอีสาน



อาหารภาคอีสาน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) มีรสชาติเด่น คือ รสเค็มจากน้ำปลาร้า รสเผ็ดจากพริกสด พริกแห้ง รสเปรี้ยวจาก ผักพื้นบ้าน เช่น มะขาม มะกอก


อาหารส่วนใหญ่มีลักษณะแห้ง ข้น มีน้ำขลุกขลิก แต่ไม่ชอบใส่กะทิ คนอีสานใช้ปลาร้าเป็นเครื่องปรุงอาหารแทบทุกชนิด เช่น ซุปหน่อไม้ อ่อม หมก น้ำพริกต่างๆ รวมทั้งส้มตำ


อาหารอีสานที่รู้จักกันอย่างแพร่หลาย ได้แก่ ปลาร้าบ้อง อุดมด้วยพืชสมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร้ หอมแดง กระเทียม ใบมะกรูด มะขามเปียก หรืออย่างแกงอ่อม ที่เน้นการใช้ผัก หลายชนิดตามฤดูกาลเป็นหลัก รสชาติของแกงอ่อมจึงออกรสหวานของผักต่างๆ รสเผ็ดของพริก กลิ่นหอมของเครื่องเทศและผักชีลาวหรืออย่างต้มแซบ ที่มีน้ำแกงอันอุดมด้วยรสชาติและกลิ่นหอมของของเครื่องเทศและผักสมุนไพรเช่นกัน


คนอีสานจะรับประทานข้าวเหนียวเป็นอาหารหลัก และโดยทั่วไปจะนึ่งข้าวเหนียวด้วยหวด หวด คือภาชนะที่เป็นรูปกรวย ทำด้วยไม้ไผ่ ซึ่งจะต้องใช้คู่กับหม้อทรงกระบอก

อาหารภาคไต้



ภาคใต้... เป็นภาคที่มีพื้นที่ติดชายฝั่งทะเลมากที่สุด ลักษณะภูมิประเทศ เป็นแหลมที่ยื่นลงไปในทะเล
ผู้คนที่อาศัยในดินแดนแถบนี้จึงนิยมทำการประมง เพราะมีทรัพยากรในท้องทะเลมากมาย เมื่ออาศัยอยู่ชายทะเล อาชีพเกี่ยวข้องกับทะเล อาหารหลักในการดำรงชีวิตจึงเป็นอาหารทะเล



อาหารส่วนใหญ่ของคนภาคใต้ มักเกี่ยวข้องกับปลา และสิ่งอื่น ๆ จากท้องทะเล อาหารทะเลหรือปลา
โดยธรรมชาติจะมีกลิ่นคาวจัด อาหารภาคใต้จึงไม่พ้นเครื่องเทศ โดยเฉพาะขมิ้นดูจะเป็นสิ่งที่แทบจะขาดไม่ได้เลย เพราะช่วยในการดับกลิ่นคาวได้ดีนัก ฉะนั้นจะเห็นได้ว่าอาหารปักษ์ใต้จะมีสีออกเหลือง ๆ แทบทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็นแกงไตปลา แกงส้ม แกงพริก ปลาทอด ไก่ทอด ก็มีขมิ้นกันทั้งสิ้น และมองในอีกด้านหนึ่งคงเป็นวัฒนธรรมการกินที่ผสมผสานกลมกลืนกันระหว่างชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในภาคใต้นั่นเอง



เพราะชีวิตของคนภาคใต้ เกี่ยวข้องกับทะเล เมื่อออกทะเลหาอาหารมาได้มากเกิดรับประทานให้หมดใน
หนึ่งมื้อได้ คนภาคใต้จึงนำอาหารที่ได้จากทะเลมาทำการถนอมอาหาร เช่น กุ้งส้ม ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กุ้งแตะ ซึ่งจะมีสีเขียว งชนิดนี้เมื่อนำมาทำเป็นกุ้งส้ม สีจะออกแดง ๆ และมีรสเปรี้ยว การทำกุ้งส้มนั้น นำกุ้งมาหมักกับเกลือ น้ำตาลทราย หมักทิ้งไว้ประมาณ 7 วันจนมีรสเปรี้ยว จึงนำมาทำอาหารรับประทานได้



ö ปลาขี้เสียดแห้ง คือการนำปลาสีเสียดมาใส่เกลือจนทั่วตัวปลา แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน
ö ปลาแป้งแดง คือการนำปลาโคบ หมักกับข้าวสุก เกลือ ใส่สีแดง หมักทิ้งไว้ 3-4 วัน จึงนำมาปรุอาหารได้

ö ปลาเค็ม คือ การนำปลามาหมักกับเกลือ เมื่อก่อนชาวประมงออกหาปลา พอได้ปลามากก็หมักกับเกลือบนเรือ ครั้นเรือเข้าฝั่งก็จะได้ปลาเค็มไว้รับประทาน

ö กุ้งแห้ง คือ การนำกุ้งที่ได้มาเคล้ากับเกลือ แล้วตากแดดให้แห้ง เก็บไว้รับประทานได้นาน

ö น้ำบูดู ได้จากการหมักปลาตัวเล็ก ๆ กับเกลือเม็ด โดยหมักไว้ในโอ่ง ไห หรือถังซีเมนต์ แล้วปิดฝาผนึกอย่างดี ตากแดดทิ้งไว้ 2-3 เดือน หรือเป็นปี จึงนำมาใช้ได้ บูดูมีทั้งชนิดหวานและชนิดเค็ม ชนิดหวาน ใช้คลุกข้าวยำปักษ์ใต้ ชนิดเค็ม ใช้ปรุงอาหารประเภทน้ำพริก เครื่องจิ้ม

ö พุงปลา ได้จากการเอาพุงปลาทู หรือปลารังมารีดเอาสิ่งสกปรกออก แล้วใส่เกลือหมักไว้ 1 เดือนขึ้นไป จึงนำมาปรุงอาหารได้

ö เนื้อหนาง คือ การนำเอาหัวของวัวไปย่างไฟอ่อน ๆ จนสุกทั่วกันดี แล้วแช่น้ำทิ้งไว้ 1 คืน รุ่งขึ้นขูดเอาส่วนที่ไหม้ออกจนขาวสะอาดดี เลาะเอาแต่เนื้อ นำมาเคล้ากับเกลือ น้ำตาลปีบ หมักทิ้งไว้ 2-3 คืน จึงนำมาปรุงอาหารได้ เนื้อหนางอาจทำโดย ใช้เศษเนื้อปนเอ็นหมักก็ได้



อาหารปักษ์ใต้แม้จะเป็นอาหารที่อร่อย น่าลิ้มลอง แต่สิ่งหนึ่งที่ประทับใจผู้คน คือความเผ็ดร้อนของรสชาติอาหารผู้คนในภาคใต้นิยมรสอาหารที่เผ็ดจัด เค็ม เปรี้ยว แต่ไม่นิยมรสหวาน รสเผ็ดของอาหารปักษ์ใต้มาจากพริกขี้หนูสด พริกขี้หนูแห้งและพริกไทย ส่วนรสเค็มได้จากกะปิ เกลือ รสเปรี้ยว ได้จากส้มแขก น้ำส้มลูกโหนดตะลิงปลิง ระกำ มะนาว มะขามเปียก และมะขามสด เป็นต้น



เนื่องจากอาหารภาคใต้มีรสจัด อาหารหลาย ๆ อย่างจึงมีผักรับประทานควบคู่ไปด้วย เพื่อลดความเผ็ดร้อนลงซึ่งคนภาคใต้ เรียกว่า ผักเหนาะ หรือบางจังหวัดอาจเรียกว่า ผักเกร็ด ผักเหนาะของภาคใต้มีหลายอย่าง บางอย่างก็เป็นผักชนิดเดียวกับภาคกลาง เช่น มะเขือเปราะ ถั่วฝักยาว ถั่วพู ฯลฯ แต่ก็มีผักอีกหลายอย่างที่รู้จักกันเฉพาะคนภาคใต้เท่านั้น การเสิร์ฟผักเหนาะกับอาหารปักษ์ใต้ ชนิดของผักจะคล้าย ๆกัน หรืออาจเป็นผักที่ผู้รับประทานชอบก็ได้

อาหารภาคเหนือ

         อาหารภาคเหนือ ส่วนใหญ่รสชาติไม่จัด ไม่นิยมใส่น้ำตาลในอาหาร
ความหวานจะได้จากส่วนผสมของอาหารนั้นๆ เช่น ผัก ปลา และนิยมใช้
ถั่วเน่าในการปรุงอาหาร





         คนเหนือมีน้ำพริกรับประทานหลายชนิด อาทิ น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่อง
ผักที่ใช้จิ้มส่วนมากเป็นผักนึ่ง





         ส่วนอาหารที่รู้จักกันดีได้แก่ ขนมจีนน้ำเงี้ยว ที่มีเครื่องปรุงสำคัญ
ขาดไม่ได้คือ ดอกงิ้ว ซึ่งเป็นดอกนุ่มที่ตากแห้ง ถือเป็นเครื่องเทศพื้นบ้าน
ที่มีกลิ่นหอม หรืออย่างตำขนุน แกงขนุน ที่มีส่วนผสมเป็นผักชนิดอื่น เช่น
ใบชะพลู ชะอม และมะเขือส้ม